HEART Marketing: เพิ่มความพึงพอใจ สร้าง Loyalty ผ่านการสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าจะไม่มีวันลืม
การทำการตลาดผ่านการเล่นกับใจคนที่สามารถซื้อใจลูกค้าให้เป็นลูกค้าประจำได้
Jes Jintawat
Marketing Intern

HEART Marketing การตลาดที่เล่นกับใจ จนลูกค้าไม่มีวันลืม

การเล่นกับ “ใจ” ของลูกค้ากลายมาเป็นกลุยุทธ์ทางการตลาดยุคใหม่ที่ทำให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า จนลูกค้าใหม่ ๆ เหล่านั้นผันตัวกลายมาเป็นสาวกของแบรนด์ สินค้า หรือบริการ หรือที่เรารู้จักกันในคำว่า “Loyal Customers” ผู้ถูกมองว่าเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างรายได้ (Revenues) และความยั่งยืนให้กับธุรกิจ

ต่างจากกลุยุทธ์อื่นๆที่มักจะเล่นกับตัวแปรที่เป็นตัวเลข สถิติ หรือจำนวนต่าง ๆ HEART Marketing จะโฟกัสหลัก ๆ ไปที่การเล่นกับจิตใจ (Mentality) ของลูกค้า ซึ่งจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยเกื้อหนุนประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่น

  1. การคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ (Humanization)
  2. ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
  3. ความคล่องแคล่วในการปรับตัว (Agility)
  4. การสร้างสัมพันธ์ที่ดี (Relationship-Building)
  5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี (Technology-Oriented Approach)

และแน่นอนว่าในบล็อคนี้ เราจะมาดูกันว่าการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับลูกค้าจะสามารถเพิ่มยอดขาย สร้างความพึงพอใจ (Customer Satisfaction) และความยั่งยืน (Sustainability) ให้กับธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างไร? โดยผ่านการเล่นกับใจของลูกค้าหรือ “HEART Marketing”

การคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ (Humanization)

ในยุคที่เทคโนโลยีนั้นกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการตลาดหรือที่มักจะคุ้นหูกันในชื่อของ Digital Marketing หลายๆธุรกิจนั้นเคยชินกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จนลืมที่จะคำนึงถึงความเป็นธรรมชาติ (Authenticity) และความเป็นมนุษย์ (Humanity) ซึ่งเป็นปัจจัยที่ลูกค้าทุกคนนั้นคำนึงถึงก่อนที่จะบริโภคสินค้าหรือบริการ

ดังนั้นหลักการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ (Humanization) จึงกลายมาเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างความเป็นธรรมชาติให้กับการขาย อีกทั้งยังเพิ่มประสบการณ์ที่ดีที่ลูกค้าของเรา (ซึ่งส่วนมากเป็น มนุษย์) ล้วนแล้วแต่คาดหวังในยุคดิจิทัล (Digital Era)

2 วิธีการสร้าง Humanity กับลูกค้า

1. รับรู้ปัญหาหรือความกังวลที่แท้จริงของลูกค้า

แน่นอนว่าทุกสินค้าล้วนมีที่มา ทุกการบริการล้วนมีเหตุผล แทนที่เราจะเน้นแต่การโฆษณาหรือชูข้อดีต่าง ๆ นา ๆ ของสินค้าของบริการ แต่ก็มีหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้านั้นตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการผ่านเรื่องราวหรือที่มาของธุรกิจ

ตัวอย่างเช่น ร้านโอ้กะจู๋ (Ohkajhu)

เรื่องราว (Story) : “From Farm To Table“ บอกเล่าเรื่องราวที่มาของวัตถุดิบเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและคุณค่าให้กับอาหารทุก ๆ จานที่ขายในร้าน

จึงไม่เป็นที่แปลกใจว่า ถึงแม้ราคาของอาหารในร้านนั้นจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าราคาในท้องตลาด แต่ลูกค้าก็ตัดสินใจซื้อได้อย่างไม่ยาก เพราะด้วยเรื่องราวที่เล่าถึงขั้นตอน ที่มา และกระบวนการผลิต อย่างลึกซึ้งกินใจ ลูกค้าจึงยอมที่จะควักเงินในกระเป๋า เพื่อที่จะจ่ายให้กับเรื่องราวที่มีสะท้อนถึงคุณค่าของอาหารแต่ละจานโดยอย่างง่ายดาย

2. ปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคล (Personalization)

ลูกค้าทุกคนล้วนแต่อยากที่จะเป็นบุคคลสำคัญ ดังนั้นการปรับสินค้าหรือบริการให้เข้ากับแต่ละบุคคลนั้น (Personalization) จึงเป็นกลยุทธ์ที่เฉียบขาดในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับเหล่าลูกค้า อีกทั้งยังเป็นการสร้างความพึงพอใจไปอีกระดับจนสามารถเปลี่ยนสถานะของลูกค้าได้ จากลูกค้าใหม่ (New Customers) สู่การเป็นลูกค้าประจำ (Loyal Customers)

ตัวอย่างเช่นร้านปังป๊า

ตามใจเธอ (Personalization) : “อยากกินแค่ไหน ก็ใส่แค่นั้น” หลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าต้องนั่งเขี่ยหรือแยกสิ่งที่ตัวเองไม่รับประทานออกจากจาน ซึ่งเสียทั้งเวลาและอารมณ์ ดังนั้นร้านปังป๊าจึงมีไอเดียใหม่ ๆ ในการสร้างเมนูขึ้นมา ซึ่งสามารถให้ลูกค้าเลือกแต่สิ่งที่ตัวเองต้องการได้ตามใจชอบ โดยการติ๊กตามช่องวัตถุดิบที่เราอยากรับประทาน

เห็นได้ชัดว่า การปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลจึงการเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองนั้นมีอำนาจหรือเป็นผู้ควบคุมความต้องการของตัวเองอย่างเต็มรูปแบบ

dashboard เก็บข้อมูลลูกค้า

ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)

Empathy กลายมาเป็นคำยอดฮิตที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจความหมายของคำ ๆ นี้อย่างคลาดเคลื่อนไปบ้าง ดังนั้นเรามาตีความคำนี้กันอย่างลึกซึ้งกันเถอะ เพื่อให้ทุกคนสามารถทำความเข้าใจกับคำ ๆ นี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้อย่างถูกต้อง

จากนิยามของคำนี้ในภาษาอังกฤษที่ว่า “Put Yourself In Somebody Else’s Shoes” หรือ “จงเอาตัวเรา เข้าไปอยู่ในรองเท้าของเขา” ซึ่งถ้าตีความจากคำแปลเราจะเห็นว่า การที่เราใส่รองเท้าของคนอื่น ไซส์ สไตล์ หรือความสะดวกสะบาย ก็อาจจะแตกต่างกันออกไปจากการใส่รองเท้าของตัวเอง ซึ่งนั่นก็จะทำให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงอุปสรรคหรือความยากลำบากต่าง ๆ ที่คน ๆ นั้นจะต้องพบเจอ ซึ่งนั่นก็จะทำให้เราเข้าใจสถานภาพ สภาพสิ่งแวดล้อม และ ตัวแปรต่าง ๆ ที่คน ๆ นึงจะต้องเผชิญ “โดยไม่นำความคิดเห็นของเราไปตัดสิน”

จึงไม่แปลกใจว่าทำไมภาคธุรกิจประยุกต์ใช้คำ ๆ นี้และปลูกฝังบุคคลากรในองค์กรให้มี Emphaty ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการสร้างประสบการณ์ที่น่าจดจำให้กับลูกค้า และเป็นผลมาจากการที่เราสามารถเข้าใจความต้องการหรือ Pain Points ของลูกค้าได้อย่างแท้จริง มันจึงทำให้ลูกค้ามีความประทับใจและความเชื่อมั่นในตัวองค์กรและพร้อมที่จะกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการใหม่เมื่อมีความอยาก (Wants) หรือความต้องการ (Needs)

3 วิธีการสร้างการตลาดที่คำนึงถึงผู้คน

1. แบ่งปันเรื่องราวหรือที่มาของธุรกิจ สินค้า หรือบริการ (Acknowledgement)

เมื่อใดที่ลูกค้าอาจจะแสดงสัญญาณต่างๆถึงความไม่สบายใจไม่ว่าจะเป็นภาษากาย หรือ คำพูดต่าง ๆ เมื่อนั้นสิ่งที่เราในฐานะของตัวแทนผู้ซึ่งเป็นประตูด่านแรกที่แสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ขององค์กร “ควรจะต้องแสดงถึงการับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกค้าโดยทันที” เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่และรู้สึกว่าไม่ว่าปัญหานั้นจะเล็กน้อยหรือใหญ่มากสักแค่ไหน แต่องค์กรก็ให้ความสำคัญกับพวกเขาได้อย่างทันท่วงที

2. ฟังด้วยใจ ไม่มีพลาด (Active Listening)

เมื่อเริ่มรับรู้ถึงความกังวล ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันนั้นก็คือ การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) ซึ่งเป็นทักษะที่ดูเหมือนจะซึมซับกันได้ง่าย แต่จริง ๆ แล้ว Active Listening ถูกนับว่าเป็นทักษะที่หลาย ๆ องค์กรนั้นขาดแคลนมากที่สุด ดังนั้นการฟังอย่างตั้งใจจึงต้องมี “ความจดจ่อ หรือ Concentration” สูง เพราะในหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าอาจจะเล่าเรื่องราวความกังวล ซึ่งอาจจะขาดรายละเอียดต่าง ๆ ของปัญหาที่แท้จริง สิ่งที่เราสามารถทำได้นั่นก็คือ “การพูดชี้จุด เพื่อเน้นยำอีกรอบถึงปัญหาหรือความกังวลที่เกิดขึ้น” เพื่อการแก้ไขหรือพัฒนาต่อไป ดังนั้น Active Listening จึงไม่ใช่แค่การฟัง แต่เป็นการฟังอย่างตั้งใจเพื่อให้เราสามารถชี้จุดให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริง

3. มองจากมุมเขา ไม่ใช่มุมเรา (Customer’s Perspective)

ขั้นตอนนี้สร้างได้ไม่ยาก เริ่มจากการที่เราลอง “จินตนาการว่าตัวเองเป็นลูกค้า” เพื่อให้เราสามารถเข้าใจมุมมองหรือประสบการณ์ที่มาจากผู้ใช้งานจริงซึ่งจะสามารถเป็นการชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่องของตัวสินค้าหรือบริการได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

และอีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำให้เราสามารถมองจากมุมของลูกค้าให้ดีมากยิ่งขึ้นโดยไม่มี “อคติ” นั่นก็คือการ “การหาเพื่อนหรือคนรู้จัก ที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถทำให้เราเข้าใจถึงปัญหาได้อย่างลึกซึ้งโดยไม่มีอคติอีกด้วย

ปรับตัวไวให้ทันเหตุการณ์ (Agility)

อีกหนึ่งคำคัพท์ภาษาอังกฤษที่มักจะได้ยินบ่อยจนติดหูไม่แพ้คำว่า Empathy นั่นก็คือคำว่า “Agility” ถ้าเริ่มทำความเข้าใจง่ายๆจากการแปลความหมายคำ ๆ นี้นั้นหมายความว่า ความคล่องแคล่วว่องไว หรือ ความกระฉับกระเฉง และเมื่อตีความคำนี้ให้สอดคล้องกับบริบทของภาคธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น Agility ก็คือ ศักยภาพหรือความสามารถของบุคคลากรหรือองค์กรในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นเมื่อประยุกต์ใช้ทักษะนี้กับการสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction) ให้กับลูกค้าผ่านการสร้างประสบการณ์ (Experience) เราจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการหรือธุรกิจควรมีความพร้อมที่จะตอบสนองความต้องการและทิศทางการบริโภคที่เปลี่ยนไปของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถคิดค้นหรือสร้างการตลาดที่สามารถจับใจพวกเขาได้

3 วิธีการสร้างการตลาดที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลง

1. ประเมินสถานการณ์อย่างทันท่วงที (Real-Time Monitoring)

การประเมินสถานภาพของตลาดอยู่ตลอดเวลาถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่นิยมอย่างมากไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือเล็ก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นแปรผันอย่างรวดเร็วซึ่งมาจากการใช้สื่อ Social Media ที่มากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน การที่องค์กรหรือธุรกิจมีแผนกที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคหรือสถานภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้น นับว่าเป็นแต้มต่อที่สามารถทำให้ธุรกิจนั้นมีความพร้อมที่จะปรับตัวอยู่ทุกเมื่อ

2. A/B Testing

การทดสอบแต่ละกลยุทธ์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแต่ละวิธีเป็นอีกหนึ่งวิธีการสร้าง Agility ที่ชัดเจนและเห็นผลลัพธ์มากที่สุด เนื่องจากเราจะสามารถวัดค่า KPI ต่างๆของแต่ละกลยุทธ์ (Strategy) พร้อมทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากแต่ละวิธี ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกใช้แค่วิธีการที่ “ดีที่สุด” เพื่อเป็นการประหยัดทรัพยากรอื่น ๆ ที่จะตามมาอีกด้วย เพราะว่าสุดท้ายแล้วทุกคนก็อยากลงทุนกับสิ่งที่ดีที่สุด

3. โต้ตอบให้ไว ไม่จำเป็นต้องรอ (Rapid Response)

ในหลาย ๆ ครั้งที่เมื่อมีวิกฤต (Crisis) เกิดขึ้นกับองค์กร ตัวสินค้าหรือบริการ สิ่งที่หลาย ๆ องค์กรมักจะนึกถึงเป็นสิ่งแรกคือ “การเพิกเฉย“  หรือ “การปล่อยเลยตามเลย“ ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ยอดฮิตที่สามารถพบเห็นได้บ่อย ๆ อย่างไรก็ตามการเพิกเฉยต่อวิกฤตที่เกิดขึ้นถือเป็นการแสดงถึงการความไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม (Lack of Social Responsibilty) ขององค์กรอีกทั้งยังนับว่าเป็นจุดอ่อนที่คู่แข่งขันทางธุรกิจสามารถหยิบยกไปเป็นข้อครหาหรือโจมตีได้

ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดเมื่อองค์กรต้องเผชิญกับวิกฤตที่เกิดขึ้นขณะนั้นในตลาดนั่นก็คือ “การโต้ตอบ อย่างฉับพลัน“ เพื่อเป็นตัวแทนของความใส่ใจในตัวลูกค้าอีกทั้งยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย

ระบบช่วยพัฒนาธุรกิจ

สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า (Relationship-Building)

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สร้างประสบการณ์ระยะยาวที่มีความยั่งยืนให้กับลูกค้า ซึ่งหลาย ๆ องค์กรต่างก็มีความตั้งใจที่จะพัฒนาสิ่งนี้ และแน่นอนเลยว่าการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้านั้นเป็นตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการนิยามธุรกิจที่ “ประสบความสำเร็จ”

วิธีการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่นิยมที่สุด

หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “Loyalty Program” และมากไปกว่านั้นอีกหลาย ๆ คนที่มีความเชื่อมั่นและเชื่อใจในสินค้าหรือบริการหนึ่งมาก ๆ ก็คงเป็นกลุ่มเป้าหมายชั้นดีของ Loyalty Program อีกด้วย แน่นอนเลยว่าคำว่า “Loyalty” นั้นแปลว่า ความภักดี ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งมากกว่าคำว่า “Honesty” หรือ ความซื่อสัตย์ด้วยซ้ำ นั่นแปลว่า Loyalty Program เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ถูกสร้างมาเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความเชื่อใจที่มากถึงระดับที่ลูกค้านั้นก่อเกิดความศรัทธาในตัวแบรนด์จนสมัครเป็นสมาชิกผู้มีความภักดีต่อสินค้าหรือบริการนั่นเอง

Loyalty Program ชนิดต่างๆ

  1. การสะสมคะแนน (Point-Based Loyalty)
  2. การจ่ายเงินค่าสมาชิก (Paid Loyalty)
  3. การสร้างคุณค่า (Value Loyalty)
  4. การแบ่ง Tier หรือระดับขั้น  (Tiered Loyalty)

ตัวอย่างเช่น

  1. Starbucks REWARDS
  2. Amazon's Prime membership program
  3. Sephora Beauty Insider
  4. Designer Shoe Warehouse
  5. The North Face
  6. REI Co-op
  7. Apple

ซึ่งโปรแกรมการสมัครสมาชิกเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

คลังสื่อเก็บรูปภาพและวีดีโอได้ไม่เปลืองพื้นที่มือถือ

ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Technology-Enabled)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคือ หนึ่งในวิธีการที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ นั้นมีความร่วมสมัยและก้าวหน้าทางนวัตกรรม (Innovative) มากขึ้น หลาย ๆ คนคิดว่ามีแต่การให้บริการโดยมนุษย์เท่านั้นที่สามารถสร้างความพึงพอใจที่มากขึ้นและเพิ่มความเชื่อมั่น (Loyalty) ให้กับแบรนด์หรืองค์กรได้ แต่อันที่จริงแล้วมีหลายเหตุการณ์มาก ๆ ที่เทคโนโลยีกลายมาเป็นหัวใจหลักของการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Siri หรือที่รู้จักกันในนาม “นางแบก Apple” นับว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด Siri นั้นเป็นที่จดจำของลูกค้า Apple แทบทุกคนและแน่นอนว่าหลาย ๆ คนมอง Siri ว่าเป็นมากกว่าเพื่อนซะอีก นี่จึงถือเป็นเคสที่ชัดเจนมาก ๆ ของการใช้เทคโนโลยีในการสร้างการตลาดที่สามารถเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า

3 วิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกับการสร้างการตลาด (Technology-Enabled Marketing)

1. วิเคราะห์ข้อมูลให้เฉียบขาด (Data Analytics)

Data Analytics กลายมาเป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่สร้างจุดเปลี่ยนให้ธุรกิจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจไหนการวิเคราะห์ข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการต่อยอดการพัฒนาสินค้าหรือบริการ เนื่องจากเราจะสามารถนำข้อมูลเชิงปริมาณมาใช้ในการประเมินศักยภาพภาคส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจ ซึ่งก็รวมถึงการทำการตลาดที่สามารถเจาะใจลูกค้าด้วยเช่นกัน

นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมหลาย ๆ องค์กรกล้าที่จะลงทุนมหาศาลกับการสร้างระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics System) ที่มีประสิทธิภาพมากซะจนกระทั่งสามารถเพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการให้มากขึ้นเป็นเท่าตัวอีกด้วย

Data Analytics Tools ยอดฮิต 2023

2. AI ทำได้ ง่ายนิดเดียว (AI-Powered Personalization)

AI หรือ Artificial Intelligence คือนวัตกรรมที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในศตวรรษที่ 21 แต่อันที่จริงแล้ว AI นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1950s แล้วซึ่งมันหมายถึง “การจำลองความชาญฉลาดของมนุษย์โดยเครื่องจักรหรือซอฟแวร์” อย่างไรก็ตามคำ ๆ นี้ยังคงเป็นที่คลุมเคลือของคนบางกลุ่มซึ่งทำให้เกิดการมองข้ามศักยภาพของมัน และเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจเราลองมาดูตัวอย่างของ AI กันหน่อยดีกว่า

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า AI นั้นอยู่รอบตัวเราและแทบจะทุกอย่างที่เราต้องพบเจอในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่เป็น AI

3. ตอบแชทได้ไว ไม่ต้องให้ลูกค้ารอ (Chatbot & Automation)

เคยรู้สึกงงไหม ว่าทำไมแบรนด์นี้ตอบกลับข้อความเราไวจัง? ในความเป็นจริงแล้วบุคคลที่ให้บริการและความช่วยเหลือเราอาจจะไม่ใช่คนก็ได้ บางคนอ่านแล้วอาจจะเริ่มรู้สึกกลัว ๆ แต่ไม่ต้องกลัวไปเพราะสิ่งนั้นเรียกว่า Chatbot ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติหรือ Automation นั่นเอง

นอกจากนี้การใช้แชทบอท (Chatbot) กลายมาเป็นเครื่องมือที่สร้างยอดขายให้หลาย ๆ ธุรกิจได้อย่างมหัศจรรย์ ในหลาย ๆ ครั้งที่ลูกค้าทักมายามดึกซึ่งส่วนมาก็จะเป็นเวลาหลังเลิกงานแล้วด้วย อย่างไรก็ตามนั่นอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้ารู้สึกอยากที่จะใช้เงินมากที่สุดก็ได้ ดังนั้นการมี Chatbot จึงถือเป็นเครื่องมือที่ไม่เพียงแต่จะสร้างยอดขาย แต่ยังสามารถเป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้กับพนักงาน และในท้ายที่สุดความพึงพอใจก็จะเกิดขึ้นกับลูกค้าอีกด้วย

ตัวอย่างของ Chatbot

Oho ลูกค้าไม่ต้องรอ! ตอบด้วยแชทบอท ตลอด 24 ชั่วโมง สร้างได้เองง่าย ๆ แอดมินทำงานสลับไปมากับบอทได้ตลอดเวลา แก้บอทที่เดียวใช้ได้ทุกช่องทาง

ดังนั้น HEART Marketing จึงกลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยทางการตลาดที่จะไม่ได้ช่วยเพิ่มแค่ความพึงพอใจของลูกค้าแต่ยังสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นที่ยังยืนในตัวสินค้าหรือบริการได้อีกด้วย

ประยุกต์ HEART Marketing ง่ายๆอย่างไรให้ปัง ดังนั้น ตัวช่วยที่จะทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มความพึงพอใจได้อย่างตรงจุดและฉับพลันนั้นก็คือ Ohochat ซึ่งเป็นระบบจัดการแชทของลูกค้า ที่รวบรวมทุกปัจจัยสำคัญไม่ว่าจะเป็น Chat, Chatbot Contact, Dashboard และ Case ไว้ในที่เดียว ซึ่งจะกำจัดทุกปัญหาเรื้อรังของผู้ประกอบการและพนักงานทุกคนออกไปได้อย่างหมดจด จนสามารถยกระดับ ความพึงพอใจ (Satisfaction) ของคุณได้ถึงระดับที่สามารถเปลี่ยน New Customers เป็น Loyal Customers ได้อย่างง่ายดายนั้นเอง

สุดท้ายนี้ OhoChat คือทางออกของปัญหาไม่ว่าจะ ประสบการณ์รูปแบบใด เราตอบโจทย์ให้คุณได้ทุกอย่าง สามารถทดลองใช้ได้ฟรี 14 วัน

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ:

10 ตัวย่อคำศัพท์ที่ชาวทีมขายต้องรู้

เคล็ดลับการใช้ BCG Matrix วิเคราะห์ธุรกิจ ที่ชาว Digital Marketing ต้องรู้

Oho Chat x Yournextu เคล็ดลับพัฒนา Customer Experience ของแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ชื่อดัง

แชทบอท

พร้อมแล้ว เริ่มใช้งานฟรี!
ทดลองใช้ฟรี คลิก!
เชื่อมต่อเพจของคุณฟรีทันที!