เคยไหม ? ลูกค้าแจ้งปัญหาจำนวนมากมาในแชทหลายช่องทาง แต่ไม่สามารถจัดการอย่างระเบียบได้ ส่งผลให้ทีมงานจัดการปัญหาล่าช้า คำร้องกระจัดกระจาย ยากต่อการค้นหาและติดตาม เกิดการทำงานซ้ำซ้อนเสียเวลา และยังทำให้ธุรกิจไม่สามารถวิเคราะห์ประสิทธิภาพของการบริการลูกค้าได้อีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการสร้างประสบการณ์ลูกค้า (Customer experience) โดยเฉพาะในยุคที่ลูกค้ามีความคาดหวังสูงเช่นนี้ หากธุรกิจไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ลูกค้าเหล่านั้นจะต้องหลุดมือไปหาคู่แข่งของคุณอย่างแน่นอน !
จะเห็นได้ว่าหลายองค์กรเริ่มหันมาใช้ระบบ Ticketing system ที่ผสมผสานกับ Omnichannel เพื่อช่วยให้จัดการข้อมูลแชทได้อย่างเป็นระเบียบ ทีมงานสามารถติดตามและแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็ว ลำดับความสำคัญของงานได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้น การลงทุนในระบบ Ticketing system จึงไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการบริหารจัดการเท่านั้น แต่ยังเป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพของการบริการและประสบการณ์ของลูกค้าอีกด้วย
ระบบ Ticketing system หรือ ตั๋วงาน / เคสงาน คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการคำร้องขอและปัญหาของลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น แอปพลิเคชันแชท อีเมล และเว็บไซต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแต่ละคำร้องจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของ “เคส” หรือ “Ticket” บนแพลตฟอร์ม Ticketing system ที่ใช้บริการ ทำให้ทีมงานสามารถจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นอย่างรวดเร็วและมีระเบียบยิ่งขึ้น ช่วยให้การทำงานไม่ซ้ำซ้อน ป้องกันการตกหล่นของงาน วิเคราะห์การทำงานได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยให้การติดตามงานเป็นเรื่องง่ายขึ้นอีกด้วย
Omnichannel คือ การรวมทุกช่องทางการสื่อสารที่ลูกค้าติดต่อแบรนด์มาไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซต์ Social Media ต่างๆ หรือแอปพลิเคชัน หรือรวมถึงทางหน้าร้าน ก็จะได้รับประสบการณ์เดียวกัน เป็นระบบที่มักใช้กับธุรกิจที่มีการทักแชทจากลูกค้าจากหลายแพลตฟอร์ม พอนำมาผสมผสานกับการทำงานของระบบ Ticket System แล้ว จะก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากกับธุรกิจ เพราะนอกจากจะสามารถมองเห็นแชททั้งหมดในจอเดียวแล้ว ยังสามารถมองเห็นปัญหาของลูกค้าในแต่ละแชทได้ในจอเดียวอีกด้วย ซึ่งทำได้ผ่านการติดแท็กตั๋วงานหรือเคสงานในแต่ละช่องแชท เพียงเท่านี้ทีมงานก็จะรู้ได้ในทันทีว่าแชทไหนมีปัญหาเรื่องใด แชทไหนเป็นเคสที่ควรเร่งช่วยเหลือ หรือแชทไหนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว ทำให้จัดการงานได้อย่างเป็นระบบและแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แอปพลิเคชันแชทปกติ เช่น Facebook, Line และ Instagram ไม่สามารถทำได้ ธุรกิจจึงจำเป็นต้องหาแพลตฟอร์ม Ticket System แบบ Omnichannel ที่มีคุณภาพมาใช้นั่นเอง
ซึ่งจากสถิติผลสำรวจพบว่าระบบ Ticketing system ช่วยให้ธุรกิจส่งมอบประสบการณ์ลูกค้า (Customer experience) ที่ดีขึ้นได้เป็นอย่างมาก และยังช่วยสร้างกำไรให้ธุรกิจเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วอย่ามัวรอช้าจนธุรกิจอื่นแย่งลูกค้าของคุณไปล่ะ ต้องรีบหาระบบ Ticketing system ดี ๆ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจคุณได้แล้ว
ปัจจุบันนี้มีระบบหลังบ้านที่มีฟีเจอร์ Ticketing System Omnichannel อยู่มากมาย แต่ละเจ้าย่อมมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ตัวธุรกิจเองควรศึกษาความต้องการของตนเองและลักษณะการใช้งานที่ต้องการให้ดี เพื่อดึงประสิทธิภาพของระบบออกมาให้ได้มากที่สุด ด้านล่างนี้จะเป็น 4 ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ได้รับการยอมรับระดับโลก
หยุด ช้าก่อน แม้ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะเป็นแพลตฟอร์มระดับ Global ที่มีคุณภาพดีก็จริง แต่นั่นหมายความว่าอาจต้องแลกมากับราคาที่สูงลิ่ว การติดตั้งระบบที่ต้องใช้ทีมเทคนิค และการติดต่อสื่อสารกับฝ่ายบริการของระบบที่ยากลำบากและใช้เวลาในการติดตั้งพร้อมเทรนทีมงานมักใช้เวลานานเพราะเป็นบริษัทที่ก่อตั้งในต่างประเทศ แถมยังต้องมีความกังวลหากทีมงานของเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับไอทีอีกด้วย แพลตฟอร์มข้างต้นจึงเหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีทีมเทคนิคเป็นของตัวเอง
ลองของไทยสิ ! หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง หรือระดับเอ็นเตอไพรส์ ที่มีการติดต่อกับลูกค้าผ่านออนไลน์หลายช่องทาง มีแชทจำนวนมาก มีทีมแอดมินที่ต้องดูแล หรือแม้กระทั่งมีธุรกิจในเครือแตกแยกหลายสาขาและหล่ายบริษัทลูก และกำลังมองหาฟีเจอร์ Ticketing System ในระบบ Omnichannel เพื่อช่วยจัดเก็บและจัดการข้อมูล ติดตามเคสลูกค้าอย่างเป็นระเบียบ ใน ราคาที่ถูก ใช้งานง่าย ติดตั้งง่าย สร้างโดยคนไทย มีฝ่ายบริการคนไทยคอยให้การดูแล แถมยังมีฟีเจอร์อีกมากมายที่ช่วยให้แอดมินสามารถตอบลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ต้องนี่เลย Oho Chat ระบบจัดการแชทเพิ่มประสิทธิภาพทีมแอดมินครบจบในที่เดียว
Oho Chat เป็นระบบจัดการแชทบริการลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพทีมแอดมิน ครบ จบในที่เดียว
ถูกพัฒนาขึ้นโดยทีมคนไทย ทำให้เราเข้าใจปัญหาของธุรกิจไทยเป็นอย่างดี พร้อมช่วยแก้ไขได้อย่างตรงจุด มั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยระบบถูกออกแบบและพัฒนาโดยมีผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ทำให้เป็นระบบที่ใช้งานง่าย แม้ในคนที่ไม่มีความรู้ด้านไอทีมาก่อนก็ตาม ช่วยยกระดับการตอบแชทของธุรกิจให้เป็นเรื่องง่าย จัดการแชทได้อย่างเปนระบบ ช่วยสร้างสุดยอด Customer experience ให้ลูกค้าติดใจธุรกิจของคุณ
โดยระบบของเรามีความโดดเด่นในด้านการวบรวมแชทจากทุกช่องทางมาไว้ในที่เดียว (Omnichannel) ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 ฟีเจอร์หลัก หนึ่งในฟีเจอร์ของเราคือ Ticketing system หรือที่โอ้โหแชทเรียกว่า ‘Case system’ นั่นเอง ซึ่งฟีเจอร์นี้ของเราสามารถครอบคลุมการทำงานได้ดีกว่าเจ้าอื่น ๆ ในประเทศไทยอย่างนอน
ระบบ Ticketing system ที่โอ้โหแชทจะถูกเรียกว่า ‘Case system’ หรือ ‘ฟีเจอร์เคส’ เป็นการรวบรวมแชทจากทุกช่องทางมาไว้ในที่เดียวพร้อมตรวจสอบและติดตามเคสลูกค้าได้ ติดแท็ก ติดตาม เพิ่มบันทึกและค้นหาเคสลูกค้าได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว คุณสามารถเข้าใจการทำงานของมันได้ง่ายนิดเดียว !
เริ่มต้นจากเมื่อมีลูกค้าส่งข้อความเข้ามาในแชท แชทนั้นจะถูกเปิดเคส (Case) อัตโนมัติ
1 แชท = 1 เคส
ซึ่งใน 1 เคส จะแสดงรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ดังรูปด้านล่างนี้
ภาพด้านล่างนี้ คือตัวอย่างหน้าจอแชทบน Mobile ของ Oho Chat ที่มีการติดแท็กเคสแล้วนั่นเอง จะเห็นได้ว่ามีการแสดงข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ด้วย เช่น เวลารอรับบริการของลูกค้า หากสนใจอยากอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์รวมแชทอย่างละเอียด สามารถคลิกได้ที่นี่ >> ฟีเจอร์รวมแชท (Omnichannel) ซึ่งระบบของเรารองรับการใช้บริการทั้งบน Website และ Mobile มาพร้อม UX/UI ที่ใช้งานง่าย ทำให้ทีมงานสามารถทำงานได้ทุกที่
และอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นค่ะ ว่าเราสามารถนำแท็กเคสนี้ไปกรองในหน้า ‘คลังเคส’ เพื่อค้นหาแชทแต่ละประเภทที่ต้องการได้ในภายหลังอีกด้วย
จากที่อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงเข้าใจฟีเจอร์เคสของเรามากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ ? ต่อมาเราจะมาเจาะลึกประโยชน์ของฟีเจอร์เคสกัน !
ถ้าคุณกำลังมีคำถามว่าแล้วฟีเจอร์เคสนี้มันจำเป็นต่อธุรกิจจริงหรือเปล่า ? ทำไมคุณถึงจำเป็นต้องใช้ฟีเจอร์เคสของ Oho Chat ? ฟีเจอร์เคสจะช่วยให้การทำงานง่ายและเป็นระเบียบขึ้นยังไง ? ลองอ่านประโยชน์ด้านล่างนี้ได้เลย
ช่วยให้ทีมงานวางแผนการทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น เกิดระบบระเบียบในการทำงาน เกิด Workflow ในการทำงาน เช่น สามารถวางแผนได้ว่าถ้าเจอปัญหานี้จะต้องส่งต่อแชทให้ใครตอบ ดังนั้นเมื่อมีทีมงานลาออกธุรกิจก็ยังดำเนินต่อไปตาม Flow ได้
มีการติดแท็กเคสไว้พร้อมคำอธิบาย ทำให้ส่งต่อแชทง่าย ทีมงานที่รับแชทต่อสามารถเข้าใจปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุดในทันที ไม่ต้องอ่านแชทใหม่เพื่อทำความเข้าใจให้เสียเวลา
แอดมินสามารถค้นหาแชท และแยกแชทแต่ละประเภทได้ง่าย โดยการกรองดูแชทแต่ละประเภทในคลังเคส และฟีเจอร์เคสยังช่วยให้มองเห็นภาพรวมว่าแชทไหนมีปัญหาอะไร ได้รับการแก้ไขหรือยัง หรือแชทไหนเป็นเคสด่วนต้องรีบแก้ไข ทำให้ประหยัดเวลาในการติดตามงาน
ระบบการทำงานที่ดีส่งผลให้แก้ปัญหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว สร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า เมื่อลูกค้ารู้สึกพึงพอใจกับบริการ จะเกิดความภักดี ส่งผลให้เกิดการกลับมาใช้บริการซ้ำ เพิ่มโอกาสการเป็น Customer Loyalty อีกทั้งลูกค้ายังอาจแนะนำธุรกิจของเราให้แก่ผู้ใช้งานคนอื่นอีกด้วย
สามารถนำข้อมูลจากเคสมาวิเคราะห์ต่อได้ใน > ฟีเจอร์แดชบอร์ด (Dashboard)
เมื่อรู้ว่าปัญหาที่ลูกค้าเจอบ่อยในธุรกิจคืออะไร ทำให้ปรับปรุงแก้ไขได้ตรงจุด รู้พฤติกรรมลูกค้าว่าทักมาเวลาไหน เรื่องไหนบ่อยที่สุด ทำให้พัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดได้ดียิ่งขึ้น
สามารถติดตาม วัดผลการทำงานของแอดมินได้ใน > ฟีเจอร์แดชบอร์ด (Dashboard)
ทำให้ Manager ประเมินผลการทำงานรายบุคคลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยสามารถติดตามผลได้ตลอดเวลาผ่านแดชบอร์ด ไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอคอมเพื่อติดตามการทำงานอีกต่อไป
ฟีเจอร์เคสเป็นเพียงหนึ่งใน 8 ฟีเจอร์ของ Oho Chat เท่านั้น ! แค่ฟีเจอร์เดียวยังดูช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นได้มากขนาดนี้ ยังมีฟีเจอร์รวมแชท (Omnichannel), แชทบอท (Chat Bot), เก็บข้อมูลลูกค้า (CRM), แดชบอร์ดวัดผล (Dashboard), คลังข้อมูล, ส่งแชทอัตโนมัติ (Auto assign) , คลังข้อมูล และ บทบาทสมาชิกและทีม รอคุณอยู่
ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า แต่อย่ากลัวไป เพราะโอ้โหแชทมีทีมงานพร้อมซัพพอร์ตคุณอยู่เสมอ อย่ามัวแต่รอให้ธุรกิจอื่นแซงหน้าและแย่งลูกค้าของคุณไป
สำหรับใครที่อยากรู้จักเราเพิ่มเติมสามารถ ทดลองใช้ได้ฟรี วันนี้ 14 วัน โดยไม่ต้องผูกบัตรเครดิตให้ยุ่งยากและกังวลอีก แถมยังสามารถเพิ่มจำนวนแอดมินได้ไม่จำกัดอีกเช่นกันค่ะ หรือหากสนใจใช้งานจริง แพ็คเกจราคาเริ่มต้นก็อยู่ที่ 500 บาท/เดือนเท่านั้น แค่คลิกเดียว แล้วยกระดับธุรกิจไปพร้อมกับเรา
สนใจทดลองใช้ฟรี ซื้อระบบ หรืออ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >>> ทดลองใช้ฟรี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คลิก >>> ติดต่อทีม Support