Personalized Marketing: กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้ายุคดิจิทัล เริ่มทำอย่างไร? ถึงจะไปรอด
ในปัจจุบันจะมีเทรนด์การตลาดอยู่อย่างหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนกำลังหันมาศึกษา เทรนด์ที่ว่านี้ก็คือ “Personalized Marketing” หรือ “การทำการตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม” การทำการตลาดที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่ว่านี้เป็นอย่างไร? สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากแค่ไหน?
Min Punyapruk
Marketing Intern

Personalized Marketing: กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้ายุคดิจิทัล

การทำการตลาด ควรใส่ใจมากแค่ไหน? คำถามนี้คงจะมีคนไม่น้อยเลยที่กำลังสงสัยอยู่ สิ่งหนึ่งที่คนทำแบรนด์ หรือทำธุรกิจควรให้ความสำคัญคือ “การทำอย่างไรก็ได้ให้ผู้คนหันมาสนใจแบรนด์” โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่เทรนด์ใหม่ ๆ แพลตฟอร์มสำหรับทำการตลาดใหม่ ๆ ผุดขึ้นมามากมาย หากเราทุ่มเงินไปมากแค่ไหน แต่ถ้าทำการตลาดผิดจุดและไม่ได้รู้ถึงกระแสอะไรในสังคมเลย สิ่งที่ลงแรงและลงทุนไปนั้นก็คงสูญเปล่า แน่นอนว่าจำนวนเงินในการทำการตลาดที่เยอะที่สุดคงหนีไม่พ้น “การยิง Ads” ที่ทีมการตลาดของทุกองค์กรต้องมีกลยุทธ์เป็นของตนเอง และหมดเงินกับตรงส่วนนี้ไปเยอะมากแน่นอน แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า Ads ที่เรายิงไปนั้น “ถูกกลุ่มเป้าหมาย” ซึ่งในปัจจุบันจะมีเทรนด์การตลาดอยู่อย่างหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนกำลังหันมาศึกษา และพยายามนำสิ่งนี้ไปปรับใช้กันในองค์กร เทรนด์ที่ว่านี้ก็คือ “Personalized Marketing” หรือ “การทำการตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม” โดยในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า การทำการตลาดที่เจาะจงกลุ่มเป้าหมายที่ว่านี้เป็นอย่างไร? สามารถทำให้แบรนด์ธุรกิจของเราพิชิตใจ และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากแค่ไหน? ที่คนทำธุรกิจในยุคดิจิทัลควรรู้

Personalized Marketing คืออะไร?

Personalized Marketing หรือ การตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม คือ กลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละรายแบบเฉพาะเจาะจงหรือเจาะกลุ่ม ยิ่งในยุคดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้า หรือเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างง่ายดายนั้น คนทำธุรกิจก็สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทั้งพฤติกรรม ความสนใจ และความต้องการของลูกค้า เพื่อที่จะไปทำการตลาดและนำเสนอเนื้อหาสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างถูกจุด เปรียบเสมือนการพูดคุยกับลูกค้าแบบตัวต่อตัว หลักเลี่ยงการทำการโฆษณาที่พุ่งเข้าหาลูกค้าแบบตรง ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้รับสารนั้นรู้สึกอึดอัด และรำคาญใจ มากกว่าที่จะหันมาสนใจสินค้าของเรา

ทำไมธุรกิจควรหันมาทำ Personalized Marketing?

ในแง่ของการทำธุรกิจ การสร้าง Customer Experience หรือสร้างประสบการณืที่ดีให้กับลูกค้า ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะการที่ลูกค้ารู้สึกดีต่อแบรนด์ของเรา แน่นอนว่าจะทำให้ในอนาคต ลูกค้ามีโอกาสที่จะกลับมาซื้อซ้ำค่อนข้างสูง การทำการตลาด ก็ถือเป็นหนึ่งปัจจัยในการสร้างประสบการณ์ที่ดีดังกล่าวนี้ ซึ่ง Personalized Marketing ก็ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะช่วยในการสร้าง Customer Experience ได้ เพราะการตลาดแบบเฉพาะกลุ่มนี้ สามารถเข้าถึงลูกค้าหรือผู้รับสารได้ตรงจุดมากกว่า

ถ้าทำแล้วมีข้อดีอย่างไร?

ธุรกิจจะเริ่มต้นทำ Personalized Marketing ได้อย่างไร?

1. การรู้จักลูกค้าของคุณ: การรู้จักลูกค้า ถือเป็นสิ่งจำเป็นแรก ๆ ที่คนทำธุรกิจจะต้องใส่ใจอย่างมาก เพราะในหลาย ๆ ครั้ง ที่แบรนด์ใหญ่ ๆ มักจะล้มกับการทำโฆษณาหรือทำการตลาดออกมาแบบผิด ๆ อย่างเช่น พฤติกรรมของผู้ใช้งานใน Facebook หรือ X (Twitter) แค่นี้ก็แตกต่างกันแล้ว แบรนด์ส่วนใหญ่จะมองเห็นและรู้ว่าในบางครั้งการทำการตลาดใน Facebook จะไม่สามารถใช้งานได้กับในแอปพลิเคชัน X ดังนั้นแบรนด์ควรจะใส่ใจในการเก็บข้อมูลลูกค้า นำสิ่งที่ได้ไปวิเคราะห์พฤติกรรม มองหาความสนใจ และความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มให้ดี

2. แบ่งกลุ่มและแยกประเภทลูกค้าให้ถูกจุด: ในปัจจุบันนี้มีกลยุทธ์และเครื่องมือมากมายที่จะช่วยในการแบ่งประเภทของลูกค้าได้อย่างถูกจุด เช่น RFM Analysis เครื่องมือที่จะช่วยวิเคราะห์และแบ่งประเภทลูกค้า หรือจะเป็นวิธีอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับองค์กรแต่ละองค์กร การแบ่งกลุ่มลูกค้า จะช่วยทำให้รู้ได้ว่าลูกค้ากลุ่มไหนเหมาะกับการทำการตลาดแบบใด เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายและสร้างความสัมพันธ์อันดีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

3. การเลือกเครื่องมืออย่างเหมาะสม: เลือกใช้เครื่องมือในการทำการตลาดและดูแลลูกค้าให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง ไม่ใช่แค่การทำหรือพัฒนาส่ง ๆ ตามเทรนด์ดิจิทัล แต่ธุรกิจก็ควรที่จะเลือกเครื่องมือในการดูแลลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพให้เหมาะสมและเข้ากับทีมบริการในองค์กรของตนเองด้วย เพราะการเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น ระบบ CRM แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูล หรือระบบจัดการลูกค้า ก็จะช่วยให้คุณสามารถทำ Personalized Marketing ได้ง่ายขึ้น

4. นำเสนอเนื้อหาที่ตรงใจกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม: เมื่อรู้พฤติกรรม เข้าใจในสิ่งที่ลูกค้าต้องการแล้ว สิ่งที่แบรนด์ควรจะทำต่อคือการทำสื่อหรือเตรียมข้อมูลที่นำเสนอเนื้อหาสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม เพื่อให้ง่ายต่อการที่ลูก้าจะหันมาสนใจในแบรนด์ของเรา เช่น กลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ก็อาจจะนำดาราหรือนักแสดงที่กำลังเป็นที่นิยม มาเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้แบรนด์ หรือกลุ่มลูกค้าผู้ใหญ่ พวกเขาอาจจะต้องการการสื่อสารที่ชัดเจน แต่นอบน้อมและไม่ขายตรงมากเกินไป เป็นต้น

5. วิเคราะห์และปรับปรุง: หลังจากเริ่มต้นทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคลแล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก คือ การติดตามผลและวัดผลแคมเปญ Personalized Marketing เพื่อดูว่าสิ่งที่เราทำลงไปนั้น มีประสิทธิภาพหรือส่งผลอะไรต่อลูกค้าเราจนเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับปรุงแก้ไข แล้วค่อย ๆ พัฒนาการทำการตลาดของเราไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่เหมาะสมที่สุด

Hyper-Personalized Marketing คืออะไร?

Hyper-Personalized Marketing หรือ การตลาดแบบไฮเปอร์เฉพาะบุคคล หมายถึง กลยุทธ์การตลาดขั้นสูงที่มุ่งเน้นไปที่การนำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละรายอย่างแท้จริง ธุรกิจจะใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก พฤติกรรม ความต้องการ และบริบทของลูกค้าแบบละเอียดลึก นำเสนอเนื้อหา สินค้า และบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละคน เปรียบเสมือนการพูดคุยกับลูกค้าแบบตัวต่อตัวและเข้าใจความต้องการของพวกเขาราวกับเป็นเพื่อนสนิท

Hyper-Personalized Marketing ต่างจาก Personalized Marketing อย่างไร?

การทำการตลาดทั้งแบบ Hyper-Personalized Marketing และ Personalized Marketing นั้นนับว่าเป็นการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงเหมือนกัน แต่การเจาะจงของทั้ง 2 แบบนี้ มีความแตกต่างกันอย่างไร?

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Hyper-Personalized Marketing :

ทำความรู้จัก Personalized Persona ดีต่อการทำการตลาดอย่างไร?

Personalized Persona คือ การจำลองตัวแทนลูกค้าในอุดมคติ โดยอิงจากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรม ความต้องการ และเป้าหมายของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้ในการเข้าใจถึงกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มลูกค้าในแบรนด์เราได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น

การทำ Personalized Persona มีประโยชน์ต่อการวางแผนการตลาดอย่างไร?

วิธีการสร้าง Personalized Persona ให้มีประสิทธิภาพ

1. เก็บข้อมูลลูกค้าให้ครบถ้วน: เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ข้อมูลประชากร พฤติกรรม ความต้องการ และเป้าหมาย เพื่อที่จะนำข้อมูลเหล่านี้มาจำลองเป็น Persona ของคนหนึ่งคน ซึ่งก็คือตัวแทนลูกค้าของเรา

2. วิเคราะห์ข้อมูล: วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาจุดร่วมและความแตกต่างของลูกค้า อีกทั้ง Persona ยังสามารถช่วยให้เรารับรู้สิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำการตลาดที่เสี่ยงจะถูกลูกค้าปัดตกไป

3. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย: การทำ Persona ดังที่กล่าวไปข้างต้น คือ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยตามข้อมูลที่มีได้ เพื่อช่วยให้เห็นภาพลูกค้าแต่ละกลุ่มได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

4. พัฒนา ปรับปรุงและปรับแต่ง Persona: การทำ Persona ที่ดี ไม่ใช่แค่สร้างแบบจำลองออกมาเพื่อให้เห็นภาพของลูกค้าแล้วจบไป แต่พฤติกรรมและความต้องการของลูกค้านั้นเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นธุรกิจควรที่จะพัฒนา Persona สำหรับแต่ละกลุ่มเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตามทันความต้องการของลูกค้า

พร้อมแล้ว เริ่มใช้งานฟรี!
ทดลองใช้ฟรี คลิก!
เชื่อมต่อเพจของคุณฟรีทันที!