รีวิว 6 ระบบจัดการแชทและ CRM สำหรับธุรกิจออนไลน์ในปี 2023
รวมข้อดีข้อเสียพร้อมสรุประบบที่ช่วยเพิ่ม Customer Experience ยกระดับการบริการลูกค้าติดปีกให้ธุรกิจออนไลน์ ช่วยให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำ วัดผลทีมงานได้ พร้อมวิธีเลือกอย่างละเอียด
Song Sapanya

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจออนไลน์ต่างจากธุรกิจทั่วไปคือ การติดต่อ 2 ทาง (Two Way Communication) ที่ต้องการความรวดเร็วและต้องประสิทธิภาพสูง การติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจและลูกค้าของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่งเราสามารถให้บริการลูกค้าได้ดีจนสร้างความประทับใจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีก็จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าเลือกใช้บริการธุรกิจของเรามากขึ้นหรือเพิ่มการกลับมาใช้บริการมากขึ้น

การเลือกใช้ซอฟท์แวร์อัตโนมัติมาเป็นตัวช่วยก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยลดภาระของคุณและทีม แต่จะเลือกซอฟท์แวร์ที่ใช่ได้อย่างไร แต่ละระบบมีความแตกต่างกันอย่างไร ในบทความนี้เราจะมารีวิว 6 ระบบตอบแชทและทำ CRM เจ้าดังแบบบอกทั้งข้อดี ข้อเสีย พร้อมบอกแนวทางการเลือกซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจคุณเอง

6 ซอฟท์แวร์จัดการแชทและทำ CRM ที่เราจะรีวิวกันในบทความนี้

  1. Intercom
  2. Hubspot
  3. Zendesk
  4. Drift
  5. ManyChat
  6. Oho Chat

Intercom

Intercom ohochat

Making internet business personal’

Intercom เป็นระบบที่มีฟีเจอร์หลากหลายสำหรับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า และการจัดการข้อมูลแชท จุดเด่นคือมีระบบ Live Chat ที่ให้ลูกค้าสามารถทักแชทเข้ามาผ่านหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจได้, In-app messaging ติดตั้งแชทไว้ในแอปพลิเคชันของคุณ และยังติดตั้งระบบอีเมลอัตโนมัติสำหรับส่งข่าวสารหรือพูดคุยกับลูกค้าของคุณได้ด้วย

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่น

จุดด้อย

เว็บไซต์

www.intercom.com

Zendesk

Zendesk CRM

‘Champions of customer service’

Zendesk เป็นระบบที่เน้นไปทาง Customer Service โดยเฉพาะ สำหรับให้บริการลูกค้าที่มีทั้งระบบรวมแชท จากหลาย ๆ ช่องทางทั้ง Live Chat Social เช่น Facebook Whatsapp อีเมล หรือจากโทรศัพท์ รวมถึงเปิดให้ธุรกิจสร้างหน้า Help Center ของตัวเอง สำหรับให้ลูกค้าเข้ามาอ่านและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองแบบเบื้องต้น และยังมีระบบ Chatbot อีกด้วย

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่น

จุดด้อย

เว็บไซต์

www.zendesk.com

Oho Chat

ohochatระบบรวบรวมแชท

‘ระบบจัดการแชทบริการลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพทีมแอดมิน ครบจบในที่เดียว’

Oho Chat ระบบจัดการแชทสัญชาติไทย เน้นไปที่การซัพพอร์ทให้แอดมินทำงานง่ายขึ้น ระบบเรียนรู้ง่าย ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลางที่ต้องขายของ บริการลูกค้าผ่านแชท

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่น

จุดด้อย

เว็บไซต์

www.oho.chat

Hubspot

Hubspot

Grow better with HubSpot’

Hubspot ครอบคลุมทั้งเครื่องมือทางการตลาด การขาย และระบบซัพพอร์ตลูกค้า (Customer Service) ฟีเจอร์หลัก ๆ ใน Hubspot มีคล้าย ๆ กับ Intercom คือ มีทั้ง Live Chat, In-app messaging และ Email ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เยอะ รวมถึงสามารถไปเชื่อมต่อกับหลาย ๆ ระบบที่ธุรกิจมักจะใช้อยู่แล้ว

จุดเด่น

จุดด้อย

เว็บไซต์

www.hubspot.com

ManyChat

ManyChat

‘Chat Marketing Made Easy with Manychat’

ManyChat เน้นไปที่การสร้างบอทหรือสร้างขั้นตอนอัตโนมัติผ่านช่องทางแชท ไม่ว่าจะเป็น Facebook Messenger, Direct Messages ของ Instagram หรือ Whatsapp ผู้ใช้สามารถสร้างบอทได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ เพื่อให้บอททำการตลาด การขาย และการให้บริการลูกค้าผ่านช่องทางแชท

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่น

จุดด้อย

เว็บไซต์

www.manychat.com


Drift

Drift

'The world’s first and only conversational marketing and sale platform’

Drift ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้การทำการตลาดและขายของผ่านแชทเป็นเรื่องง่าย Drift มีระบบ Live Chat และ In-app messaging ที่ใช้ง่าย เข้าใจง่าย สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องไม้หลากหลาย

ฟีเจอร์เด่น

จุดเด่น

จุดด้อย

เว็บไซต์

www.drift.com

แล้วจะเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจเรา?

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เริ่มสนใจอยากลองใช้ซอฟท์แวร์ช่วยจัดการ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกอย่างไร ลองพิจารณาจากสิ่งเหล่านี้ดู

  1. ความต้องการของธุรกิจเราการจัดการข้อมูลแชทสามารถทำได้หลายมุม ไม่ว่าจะใช้แชทเพื่อทำการตลาด ปิดการขาย ตอบคำถามลูกค้า แก้ปัญหาให้ลูกค้า ซึ่งแต่ละซอฟท์แวร์จะมีความสามารถไม่เท่ากัน
  2. ลูกค้าของเราอยู่ในช่องทางไหนบ้างส่วนใหญ่ทุกซอฟท์แวร์จะเชื่อมต่อกับช่องทางต่าง ๆ ได้หมด แต่แต่ละซอฟท์แวร์จะมีจุดเด่นไม่เหมือนกัน เช่น บางเจ้าถนัดเชื่อมกับ Facebook Messenger เป็นหลัก บางเจ้าอาจจะเชื่อมกับ LINE ไม่ได้ หรือบางเจ้าโฟกัสไปที่การให้ผู้ใช้ติดตั้ง Chat Widget ไปบนหน้าเว็บ
  3. ราคาส่วนใหญ่ราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดทีมหรือจำนวนลูกค้าของธุรกิจเรา การเลือกจากราคาไม่ใช่ว่าซอฟท์แวร์ยิ่งแพงจะยิ่งคุ้มค่า เพราะเราอาจจะไม่ได้ใช้ทุกฟีเจอร์ ให้ใช้ความต้องการของธุรกิจเราเป็นตัวตั้ง
  4. การติดตั้งและทีมงานให้บริการการติดตั้งและทีมงานให้ซัพพอร์ตของซอฟท์แวร์นั้น ๆ ก็มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาด้วย เพราะว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งใหม่ที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ เราควรจะได้ลองพูดคุยติดต่อกับทีมงานจนมั่นใจว่า ถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นเขาจะช่วยซัพพอร์ตเราได้เต็มที่ หรือติดตั้ง ทำให้การทำงานต่อเนื่องจากระบบเดิมทำได้อย่างลื่นไหล ไม่ยากเกินไป
  5. การเชื่อมต่อ (Integrations) ในการทำธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่ทุกธุรกิจจะมีซอฟท์แวร์ที่ใช้งานในหลาย ๆ ด้านอยู่แล้ว อย่างเช่น Google Sheets, Saleforce, Slack เป็นต้น ลองดูว่าซอฟท์แวร์ที่ทีมใช้งานเป็นประจำอยู่แล้วสามารถเชื่อมเข้ากับซอฟท์แวร์ด้านจัดการแชทหรือ CRM ได้เลยหรือไม่ หากเชื่อมต่อกันได้ก็จะช่วยทำให้ขั้นตอนการทำงานไม่ซ้ำซ้อนและลื่นไหลได้มากขึ้น

เจ้าของธุรกิจควรหันมาศึกษาและใช้ซอฟท์แวร์เพื่อช่วยในเรื่องการจัดการแชทและ CRM ให้มากขึ้น ซอฟท์แวร์เหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจและลูกค้าให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นคีย์สำคัญของการทำธุรกิจออนไลน์ในยุคนี้ และการเชื่อมต่อทุกช่องทางเข้ามาไว้ด้วยกันยังช่วยทำให้ข้อมูลทั้งหมดถูกเก็บไว้ในแหล่งเดียว ทำให้ช่วยติดตามเคสต่าง ๆ ของลูกค้า และยังนำไปสร้างความสัมพันธ์ สร้างยอดขายในอนาคตได้อีกด้วย สุดท้ายการใช้ซอฟท์แวร์มาสนับสนุนการทำงานของทีมงานก็ช่วยลดภาระและลดค่าใช้จ่าย เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจของคุณเติบโต

สุดท้ายแล้วการเลือกซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมอาจจะต้องเริ่มจากการเข้าใจความต้องการของธุรกิจของเราให้ชัดเจน และลองใช้งานดูก่อน ซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้ลองใช้ฟรีในระยะเวลาจำกัดหรือให้ใช้ฟรีในฟีเจอร์ที่จำกัดก่อน หรือจะลองเลือกจากการอ่านรีวิวหรือหาคำแนะนำจากธุรกิจที่คล้าย ๆ กับธุรกิจของคุณก็ได้

ทดลองใช้ Oho Chat ระบบจัดการแชทบริการลูกค้าที่ออกแบบมาเพื่อแอดมินคนไทย ซัพพอร์ตด้วยทีมงานคนไทย ฟรี 14 วัน! นัดเดโม่ได้เลย สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

dashboardจากโอ้โหแชทช่วยเก็บข้อมูลธุรกิจ

พร้อมแล้ว เริ่มใช้งานฟรี!
ทดลองใช้ฟรี คลิก!
เชื่อมต่อเพจของคุณฟรีทันที!