เหตุผลที่ธุรกิจไม่ควรขอโทษลูกค้า “สุ่มสี่สุ่มห้า” พร้อมวิธีรับมือให้ลูกค้ารักเราต่อ
เทคนิคการรับมือลูกค้าเวลาธุรกิจเกิดปัญหา เพื่อสร้างความไว้วางใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าและบริการอีกครั้ง
Thiti Luang
CEO



เหตุผลที่ธุรกิจไม่ควรขอโทษลูกค้า “สุ่มสี่สุ่มห้า” พร้อมวิธีรับมือให้ลูกค้ารักเราต่อ


ในโลกธุรกิจที่ทุกวันนี้แข่งขันกันอย่างดุเดือด การรักษาความพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากอย่างยิ่ง บริษัทหรือธุรกิจใดที่ต้องการสร้างความไว้วางใจและซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง จำเป็นต้องมีการจัดการลูกค้าอย่างใส่ใจและให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าอย่างมาก อย่างไรก็ตาม บางครั้งการเกิดปัญหาหรือความผิดพลาดก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

รับฟังและรับรู้

สิ่งแรกที่ทำได้คือรับฟังอย่างไม่ตัดสิน แยกอารมณ์ออกจากเนื้อหา พยายามหาต้นตอของปัญหาให้พบ เก็บข้อมูลแวดล้อมเพื่อวิเคราะห์ และสื่อสารให้ลูกค้าทราบว่า เราอยู่ตรงนี้เพื่อช่วยเหลือให้ดีที่สุด ทั้งนี้ เราไม่ควรเชื่อไปก่อนว่าสิ่งที่ลูกค้าพูดถูกทั้งหมด เป็นไปได้ว่าปัญหาที่ลูกค้าเจออาจไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของธุรกิจ การขอโทษกลับไปแบบ สุ่มสี่สุ่มห้า บางครั้งกลับกระตุ้นให้ลูกค้าโกรธ หรือเพ่งเล็งว่าสินค้าและบริการของเราผิดเต็มประตู ต้องใช้เวลาทำให้ลูกค้าใจเย็นอีก

วิเคราะห์หาสาเหตุ

เมื่อรับฟังและแสดงความมั่นใจให้ลูกค้าว่าเราจะให้ความช่วยเหลือเต็มที่แล้ว เราต้องหาสาเหตุปัญหาให้ได้เร็วและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งธุรกิจควรหมั่นสร้างคลังความรู้และคลังคำตอบ (FAQs) ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พบบ่อย ข้อมูลนี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานที่ทำการตอบ และไม่เสียเวลาพนักงานคนอื่นๆ ที่ต้องชวนมาประชุมเพื่อถกหาสาเหตุ

ปัญหาไม่ได้เกิดจากเราการที่เราไม่ควรขอโทษลูกค้าในบางกรณีนั้น เพื่อให้ลูกค้าไม่รู้สึกผิดหวังกับสินค้าและบริการของเรา ก่อนจะได้บทสรุปของปัญหาด้วยซ้ำ บางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เกิดจากสินค้าหรือบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือความไม่เข้าใจการใช้งานของลูกค้าเอง

กรณีนี้การขอโทษอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในกรณีนี้ แทนที่จะขอโทษลูกค้า ในบางกรณีเราสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือให้ความช่วยเหลือในด้านอื่นๆ เพื่อช่วยให้ลูกค้าได้รับประโยชน์และฟื้นคืนความมั่นใจจากประสบการณ์ที่ไม่ดีนั้นๆ

ขอโทษเมื่อปัญหานั้นเกิดจากเรา

เมื่อแน่ใจแล้วว่าปัญหาเกิดจากความผิดพลาดของสินค้าและบริการของเราเอง การขอโทษเป็นสิ่งควรทำ และควรทำอย่างจริงใจ ทว่าคำขอโทษอย่างเดียวอาจไม่ได้ช่วยให้ลูกค้าพึงพอใจ เพราะความเสียใจหรือความเสียหายอาจเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่เราควรทำนอกจากขอโทษคือ

1 แจ้งสาเหตุ

การแจ้งทำให้ลูกค้าเข้าใจกระบวนการทำงานและข้อจำกัดของธุรกิจ บางครั้งลูกค้าเปิดใจรับฟังอยู่แล้ว ธุรกิจเพียงแค่แสดงให้เห็นว่าความผิดพลาดนั้นไม่ได้เกิดจากเจตนาที่ไม่ดี ถ้าสินค้าและบริการของเราตอบโจทย์ลูกค้า ยังไงลูกค้าก็เอาใจช่วยให้เราพัฒนาจุดนั้นๆ ให้ดียิ่งขึ้น

2 ระบุการแก้ไข

อธิบายวิธีแก้และแผนการแก้ที่ชัดเจน ฟังแล้วมีความหวัง และคาดหวังวันและเวลาที่การแก้ไขสำเร็จลุล่วง นอกจากนี้ควรสร้างการแจ้งเตือนเพื่อให้เราสามารถกลับไปอัปเดตให้กับลูกค้าให้เร็วที่สุด

3 เสนอการเยียวยา

หลายครั้งที่ความผิดพลาดส่งผลเสียให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่สามารถใช้งาน หรือให้บริการลูกค้าของธุรกิจได้ การเสนอการเยียวยาย่อมมีประโยชน์ แต่ควรพิจารณาให้เหมาะสม เพราะบางครั้งอาจไม่ได้ผลและทำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น คืนเงินลูกค้าโดยไม่แก้ไข อาจทำให้ลูกค้าคิดได้ว่า “คืนแค่นี้มันไม่พอกับความเสียหายที่เกิดขึ้นหรอก” อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรเยียวยาลูกค้าได้ดีไปกว่าการพัฒนาสินค้าและบริการให้พร้อม ไม่ให้มีปัญหาเดิมเกิดขึ้นอีก


4 สร้างความมั่นใจ

เปิดเผยแผนการปรับปรุงในระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันอีก ลูกค้าอยากใช้สินค้าและบริการไปนานๆ ก็เมื่อธุรกิจมองเห็นปัญหาในภาพใหญ่ มีการแก้ปัญหาที่ชาญฉลาด ไม่ใช่แก้แบบสุกเอาเผากิน

โดยสรุป การจัดการลูกค้าอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เราต้องใส่ใจและให้ความสำคัญกับความพอใจของลูกค้า และสามารถให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความไว้วางใจและความพึงพอใจในลูกค้าต่อไป

หากใครสนใจอยากใช้ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าที่มีฟีเจอร์มากมายที่ช่วยยกระดับ Customer Experience ของธุรกิจ แต่เป็นราคาสำหรับคนไทยที่จับต้องได้ มีทีมงานคนไทยพร้อมซัพพอร์ตและให้คำแนะนำในการใช้บริการ


เราขอแนะนำ Oho Chat ระบบจัดการแชทบริการลูกค้าพัฒนาโดยคนไทย รวบรวมแชทบริการลูกค้าครบจบในที่เดียว แถมยังมีฟังก์ชั่นอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ฟีเจอร์คำตอบอัตโนมัติที่ช่วยบันทึกชุดข้อความที่ต้องตอบลูกค้าบ่อยๆ ได้ ไม่ต้องพิมพ์ใหม่ทุกครั้ง  แชทบอทช่วยตอบลูกค้า การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าผ่านแชท มีการจัดการเคสลูกค้าอย่างเป็นระบบ สามารถตรวจสอบการทำงานของแอดมินหรือทีมงานที่เกี่ยวข้องได้ ช่วยให้การแชทคุยกับลูกค้าเป็นเรื่องง่าย แชทจะเยอะแค่ไหนก็เอาอยู่ สร้างความประทับใจแก่ประสบการณ์ลูกค้าในทุก ๆ ขั้นตอน

ทดลองใช้ฟรีได้แล้ววันนี้เป็นเวลา 14 วัน

พร้อมแล้ว เริ่มใช้งานฟรี!
ทดลองใช้ฟรี คลิก!
เชื่อมต่อเพจของคุณฟรีทันที!