เปรียบเทียบข้อแตกต่าง Oho Chat VS Zendesk ระบบจัดการแชทไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณ
เทียบหมัดต่อหมัด รีวิวฟีเจอร์และข้อเสียของทั้งระบบ Oho Chat และ Zendesk ช่วยให้ธุรกิจคุณได้เลือกใช้เครื่องมือช่วยดูแลลูกค้าจัดการแชทได้เหมาะสมที่สุด
Min Punyapruk
Marketing Intern

ในยุคดิจิทัลปัจจุบันนี้ที่ธุรกิจเกิดการแข่งขันกันมากมาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกองค์กรหรือธุรกิจต้องหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน Customer Experience กันมากขึ้น
ทั้งสำหรับการให้บริการลูกค้า หรือแม้กระทั่งการสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจเอง ให้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม สิ่งหนึ่งที่ธุรกิจไม่ควรจะมองข้าม คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้การดูแลลูกค้า และการดูแลทีมภายในองค์กร เมื่อธุรกิจของคุณต้องมีการพูดคุยกับลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์อยู่ตลอด ซึ่งทางเราก็ขอหยิบยกเครื่องมือตัวช่วยที่น่าสนใจ จากทั้งฝั่งไทยและฝั่งต่างประเทศมาแนะนำกัน

วันนี้เราเลยอยากจะมาทำรีวิว แนะนำเครื่องมือ Martech Tools ที่จะช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดจัดการดูแลลูกค้าง่ายยิ่งขึ้น อย่างระบบจัดการแชทเจ้าดังอย่าง Oho Chat และ Zendesk
พร้อมชนกันหมัดต่อหมัด เปรียบเทียบให้เห็นทั้งข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น หรือจุดด้อยของแต่ละระบบ ให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้ที่สนใจใช้ระบบได้รู้ลึกกันไปเลยค่ะว่าทั้ง 2 เจ้านี้จะมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร และระบบไหน ที่เหมาะกับตัวเองบ้าง

Oho Chat ซอฟต์แวร์ระบบจัดการแชทบริการลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพทีมแอดมิน ครบ จบในที่เดียว


ซอฟแวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทีมคนไทยทั้งหมด เน้นไปที่การซัพพอร์ทธุรกิจในองค์รวม ให้แอดมินทำงานง่ายขึ้น เหมาะสำหรับธุรกิจทุกไซส์ ทุกรูปแบบที่ต้องการบริการลูกค้าผ่านช่องทางแชทให้สะดวกมากกว่าที่เคยเป็น ซึ่งโอ้โหแชทถือว่าเป็นน้องใหม่ในวงการ ที่เมื่อดูฟีเจอร์ที่มีให้แล้วเนี่ย ต้องบอกเลยว่าไม่แพ้เจ้าอื่น ๆ เลย แถมราคาก็ถือว่าจับต้องได้ เหมาะสมกับธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง รวมถึงเปิดให้คัสตอมได้สำหรับธุรกิจไซส์ใหญ่แบบ Enterprise แม้จะเปิดตัวมาไม่ได้นานมากนัก แต่ต้องบอกเลยว่าโอ้โหแชทเติบโตและสร้างสรรค์ฟีเจอร์มาใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้ผู้ใช้งานได้ใช้กันอยู่ตลอด ในฝั่งของต่างประเทศกันบ้างค่ะ มาดูกันที่




Zendesk ซอฟต์แวร์บริการลูกค้าและ CRM การขาย



ตัวนี้ที่ถือว่าอยู่ในวงการมานานและเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ณ ปัจจุบัน Zendesk ยังคงเป็นผู้นำตลาดในเรื่องของระบบจัดการแชทและดูแลลูกค้า Zendesk ได้รวบรวมทุกฟีเจอร์ที่คิดว่าครอบคลุมทุกอย่างที่จะดูแลลูกค้าและสนับสนุนการทำงานขององค์กรได้ แต่หากดูราคาแล้ว zendesk ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ราคาค่อนข้างสูง อาจจะจับต้องได้ยากสำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก

หากต้องพูดถึงฟีเจอร์ทั้งหมดของทั้ง Oho chat และ Zendesk แล้วเนี่ย ก็คงจะพูดได้ไม่หมดแน่ ๆ ทางเราเลยขออนุญาตหยิบยกฟีเจอร์เด็ด ๆ  และเทียบกันให้เห็นเลยค่ะว่า ธุรกิจของคุณเหมาะกับเครื่องมือตัวไหนมากกว่ากัน

ฟีเจอร์ที่เราขอเอามานำเสนอเปรียบเทียบก็คือ

  1. ช่องทางการติดต่อ
  2. Help center
  3. Chatbot
  4. การวัดผลการบริการ ทีมแอดมินหรือทีมงาน
  5. คลังสื่อ
รีวิวเปรียบเทียบ Oho Chat vs Zendesk

1. ช่องทางการติดต่อ

Oho Chat สามารถเชื่อมได้ทั้งหมด 3 ช่องทาง ได้แก่

โดยในแพ็กเกจเริ่มต้นจะสามารถเชื่อมได้จำนวนทั้งหมด 2 ช่องทาง และสามารถซื้อช่องทางเพิ่มเติมได้ในราคาเพียงช่องทางละ 150 บาทต่อเดือนเท่านั้น

ส่วนของ Zendesk support จะมีช่องทางที่สามารถเชื่อมได้หลากหลายมากกว่า เช่น

แต่จำนวนช่องทางการเชื่อมก็ยังถือว่าจำกัดอยู่เหมือนกัน และในการเพิ่มช่องทางก็สามารถซื้อเพิ่มได้ในราคา 500-600 ต่อ 1 ช่องทาง ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างแรงเลยทีเดียว

2. Chatbots

Oho Chat สร้างคำตอบอัตโนมัติภาษาไทยได้ง่าย ตั้งค่าบอทที่เดียวใช้ได้ทั้งใน Facebook และ LINE แชทบอทสลับทำงานกับแอดมินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดคำถาม และคำตอบเองได้ และสามารถกำหนดคีย์เวิร์ดได้ในกรณีที่หากลูกค้าพิมพ์คำที่เรากำหนดมา ตัวแชทบอทก็จะจับคำและตอบทันทีหลายธุรกิจอาจจะเหมาะกับแชทบอทแบบนี้เพราะสามารถควบคุมบอทได้มากกว่า ตั้งค่าได้เองว่าลูกค้าจะคุยกับบอทถึงแค่พาร์ทไหน แล้วให้แอดมินมารับช่วงต่อ เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกหงุดหงิดใจที่ต้องคุยกับระบบอัตโนมัตินานเกินไป

Zendesk เป็นบอทที่ใช้ AI ช่วยตอบคำถามแทนทีมงานที่เป็นมนุษย์ ซึ่งตัว Ai จะวิเคราะห์จากคำถามของลูกค้าด้วยระบบ Natural Language Processing เพื่อหา Knowledgebase (คำถามที่พบบ่อย) ที่ใกล้เคียงที่สุดมาตอบลูกค้า

แต่เมื่อเทียบกับการใช้งานในระยะยาวแล้ว การใช้ Ai ในการตอบลูกค้าก็อาจจะไม่ตอบโจทย์มากนัก เพราะหากลูกค้ามีคำถามเชิงลึกเข้ามา แชทบอทด้วย Ai นี้อาจจะไม่สามารถตอบคำถามให้ลูกค้า จนอาจเสียลูกค้าไปได้

3. คลังสื่อ (Media Library)

Oho Chat มีฟีเจอร์คลังสื่อที่สามารถนำรูป, วิดีโอ , ไฟล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เอกสารสกุล pdf, words หรือ excel มาเก็บเอาไว้ในคลังฟีเจอร์นี้ได้ โดยประโยชน์คือไม่ว่าธุรกิจจะมีทีมงานดูแลลูกค้าอยู่กี่คน แต่ทีมงานทุกคนจะไม่มีทางเจอปัญหาการส่งข้อมูลไม่ตรงกันหรือข้อมูลหล่นหาย หาไม่เจออย่างแน่นอน

แต่น่าเสียดายที่ในฝั่ง Zendesk ยังไม่ได้มีการพัฒนาตัวฟีเจอร์นี้ออกมาให้ผู้ใช้งานมากนัก จะมีสิ่งที่ใกล้เคียงคือ Zendesk Guide คลังความรู้ที่ใช้สร้างความเข้าใจกันภายในทีมงาน และตัว Trigger ที่เอาไว้กำหนดไฟล์ของงาน

4. การวัดผลทีมงานหรือแอดมิน

Oho Chat สามารถวัดผลได้ว่าแอดมินในทีมแต่ละคนนั้นใช้เวลาในการบริการ และให้ลูฏค้ารอการบริการอยู่นานเท่าไหร่ ซึ่งจะดูได้เลยว่าเวลาที่ใช้ยาวนานแค่ไหน ส่งแชทให้แอดมินคนไหนต่อบ้าง ตั้งแต่ต้นจนจบเคสเลย ทำให้นายจ้างตรวจสอบได้ว่าแอดมินคนไหนมีประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อการพัฒนาทีมให้ดียิ่งขึ้น

Zendesk ก็สามารถวัดผลทีมงานได้เช่นกัน แต่เนื่องจาก zendesk มีการแยกประเภทการทำงานค่อนข้างหลากหลาย ทำให้ฟีเจอร์นี้จะต้องถูกซื้อการใช้งานเพิ่มเติม โดยการวัดผลทีมนั้นจะสามารถทำได้ใน

Zendesk explore ซึ่งเป็น Tools ที่จะช่วยให้คุณใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำรายงาน และแชร์ข้อมูลในองค์กร ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยของ zendesk จะสามารถดูได้ว่า

อาจจะแตกต่างจากของโอ้โหแชทบ้างนิดหน่อย แต่ก็ถือว่าเป็นประโยชน์อยู่ แม้จะเป็นสิ่งที่ดีมากแค่ไหน แต่หากต้องจ่ายเงินเพื่อการทำงานที่ดีขึ้น สิ่งนี้ของ zendesk ก็อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับบางธุรกิจที่ไม่ได้มีงบมากพอนัก

5. Help Center (การช่วยเหลือลูกค้า)

Oho Chat จะมีการช่วยเหลือลูกค้าคือ คู่มือการใช้งาน ( แปะลิงก์หน้าคู่มือการใช้งานในเว็บไซต์โอ้โห ) ที่รวบรวมทุกปัญหาและทุกคำถามที่ลูกค้าทาจจะต้องการทราบเอาไว้ให้แล้ว และหากต้องการติดต่อเจ้าหน้าที่ก็สามารถติดต่อมาได้เลย โดยโอ้โหแชทจะมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือตอบคำถามและพร้อมรับทราบปัญหาที่ผู้ใช้งานพบเจออยู่ตลอดการใช้งานโอ้โหแชทเลยค่ะ

Zendesk สร้างเนื้อหาต่างๆ ใน Help Center ช่วยให้ลูกค้าสามารถหาคำตอบได้ด้วยตัวเองแบบรวดเร็วทันใจ (Self-Service) ไม่ต้องรอสอบถามผ่านเจ้าหน้าที่ อีกทั้งเป็นการลดภาระงานให้กับทีม Support ด้วย แต่หากต้องการคุยกับเจ้าหน้าที่โดยตรงอาจจะใช้เวลาในการติดต่อสอบถามพอสมควร เนื่องจาก zendesk เน้นการใช้ระบบอัตโนมัติในการดูแลลูกค้าเป็นส่วนใหญ่

นอกจากฟีเจอร์ที่น่าสนใจแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเลยคือ หน้า User Interface ของทั้ง Oho Chat และ Zendesk ที่หลังจากใช้งานของทั้ง 2 มาแล้วก็รู้สึกถึงความแตกต่าง และส่งผลถึงประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นอย่างมาก

Oho Chat UI

Zendesk ui

เมื่อนำมาเทียบกันแล้ว สิ่งที่เด่นของทางฝั่งของทางฝั่งโอ้โหแชทคือ

ส่วนฝั่งของ zendesk นั้นก็เรียบง่ายเช่นกัน แต่การจัดวางหรือ User experience นั้นถือว่ายังมองออกค่อนข้างยากว่าจะต้องกดอะไร ตรงจุดไหน

Oho chat dashboard
ภาพแดชบอร์ดของระบบ Oho Chat

ภาพแดชบอร์ดของ Zendesk

ซึ่งหลังจากทดลองใช้แล้ว หากต้องการซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายนั้น ถือว่าโอ้โหแชทได้คะแนนนำในตรงจุดนี้ไป แต่ก็ไม่ใช่ว่า zendesk จะไม่ดีเลยซะทีเดียว เพราะ zendesk นั้นก็มีลูกเล่นคือสามารถเปลี่ยนสี UI ได้ แม้การใช้งานจะยากกว่า แต่การเปลี่ยนสีให้ไม่น่าเบื่อนี้ ก็ช่วยให้การทำงานไม่ดูซ้ำซากได้เช่นกัน

เมื่อเทียบกันแบบนี้แล้ว จะเห็นได้เลยว่าทั้ง 2 ตัวนั้นจะมีความคล้ายคลึงในการใช้งานกันมาก โดยอาจมีข้อแตกต่างเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้นเอง ต่อมาเราจะมาดูข้อเสียกันหน่อยค่ะว่าเจ้าไหนมีข้อเสียอะไรที่เราพบเจอบ้าง

ข้อเสียของ Oho Chat :

ข้อเสียของ Zendesk :

สรุปการรีวิว

สุดท้ายแล้วไม่ว่าฟีเจอร์หรือระบบของเจ้าไหนจะดีหรือมีเยอะกว่า แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่องค์กรควรจะสนใจคือ ซอฟต์แวร์ตัวไหนที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณมากที่สุด หากเราเลือกตัวที่ดีที่สุด แต่สุดท้ายมันไม่เข้ากับธุรกิจของเรา หรือไม่สามารถแก้ปัญหาที่องค์กรพบเจอได้ การใช้จ่ายเพื่อเครื่องมือเหล่านี้ ก็อาจเป็นเรื่องสูญเปล่าไปโดยปริยาย ซึ่งอาจจะต้องเริ่มจากการเข้าใจความต้องการของธุรกิจของเราให้ชัดเจน และลองใช้งานดูก่อน ซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่จะเปิดโอกาสให้ลองใช้ฟรีในระยะเวลาจำกัดหรือให้ใช้ฟรีในฟีเจอร์ที่จำกัดก่อน หรือจะลองเลือกจากการอ่านรีวิวหรือหาคำแนะนำจากธุรกิจที่คล้าย ๆ กับธุรกิจของคุณก็ได้ โดยทั้ง Oho Chat และ Zendesk เองนั้นก็มีบริการทดลงใช้ฟรีอยู่ หากสนใจก็สามารถเรียนรู้ได้ง่าย ๆ เลยค่ะ






พร้อมแล้ว เริ่มใช้งานฟรี!
ทดลองใช้ฟรี คลิก!
เชื่อมต่อเพจของคุณฟรีทันที!