5 สกิลที่ Customer Service ควรมี
รวมคัมภีร์เคล็ดลับ 5 ทักษะสำคัญที่ทีมบริการลูกค้าทุกคนต้องรู้ พร้อมตัวอย่างให้นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจยุคใหม่
Jes Jintawat
Marketing Intern

5 สกิลที่ Customer Service ควรมี

รวมคัมภีร์เคล็ดลับ 5 ทักษะสำคัญที่ทีมบริการลูกค้าทุกคนต้องรู้ พร้อมตัวอย่างให้นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจยุคใหม่



1. Communication is KEY !

หลายๆคนคงเคยได้ยินประโยคที่มักจะติด(คุ้น)หูเมื่อเราพูดถึงการทำธุระกิจ ไม่ว่าจะเป็นภาคส่วนไหนก็ตามก็ยังคงได้ยินประโยคที่ว่า “ Communication is KEY “ และแน่นอนว่า การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอกองค์กรนั้นเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยทีเดียว

จากผลสำรวจและการค้นคว้าพบว่า 86% ของพนักงานทุกระดับชั้นในบริษัท พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าการ “ ขาด ” การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในบริษัทนั้นเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลให้เกิด “ ความล้มเหลว “ ในการทำงานร่วมกัน มากไปกว่านั้นการพัฒนาโครงสร้างการสื่อสารในบริษัทอย่างเป็นระบบนั้นยังส่งเสริมผลผลิตขององค์กร (Organisational Productivity) ให้เพิ่มขึ้นถึง 25% อีกด้วย (ข้อมูล จาก expertmarket. com)

มากไปกว่านั้นการสื่อสารอย่างทั่วถึงระหว่างธุรกิจกับลูกค้าก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เนื่องจากว่ามีเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ซึ่งทำให้พบว่า มีมากถึง 46% ของภาคธุรกิจที่ “ สูญเสีย “ ลูกค้า (Clients) จากการขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ “ ตรงเวลา และ ตรงจุด “ ข้อมูลดังกล่าวจึงมากพอในการที่จะสรุปว่า การสื่อสารกับลูกค้า นั้นเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทควรจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ (ข้อมูลจาก Project.co)

2. Empathize for EMPATHY !

Empathy ถ้าแปลเป็นไทยคือ “ ความเข้าอกเข้าใจ “ แต่อันที่จริงแล้วความหมายของคำคำนี้มันลึกซึ้งมากกว่านั้น และถ้าเราสามารถเข้าใจความหมายของมันได้อย่างเต็มที่ ทุกบริษัทก็จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไม่ยาก

ถ้าจะพูดถึงคำว่า Empathy เราอาจจะต้องนึกถึงความสามารถของบุคคลคนหนึ่งในการที่จะแสดงความเข้าใจและเห็นใจต่อคู่สนทนา จนถึงจุดที่เราจะไม่นำความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนตัวมาเป็นตัวแปรในการพิจารณาแนวคิดของบุคคลนั้น

ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ (Products) หรือ การให้บริการ (Service) การที่เราสามารถทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathize) ถึงความคิดเห็น (Comments) ข้อเสนอแนะ (Suggestions) และคำติชม (Complaints) ของลูกค้าเราได้ ธุรกิจนั้นก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantages) ได้เหนือคู่แข่งซึ่งเป็นจุดที่ทำให้หลายๆธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จมาแล้วนี่เอง

3. Problem-Solving is a MUST !

problem solving skills


ศักยภาพในการแก้ปัญหาได้ตรงเวลาและตรงจุดนั้นเป็นทักษะที่ทุกภาคธุรกิจนั้นมักจะเน้นย้ำและหล่อหลอมบุคคลากรของตนอยู่เสมอ ในหลายๆสถานการณ์ (Incidents) บริษัทอาจจะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อน การที่บริษัทมีพนักงานที่มีทักษะการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ (Problem-Solving Skills) นั้นก็จะสามารถทำให้บริษัทนั้นมีกลยุทธ์เชิงรุกและรับที่ซับซ้อน และพร้อมที่จะแก้ไขและตัดสินใจได้ทุกเมื่อเมื่อปัญหาเกิดขึ้น

  1. Problem Identification : การระบุปัญหาให้ตรงจุดคือสิ่งที่พลาดไม่ได้ในการแก้ปัญหา ถ้าเราไม่สามารถระบุได้ว่าปัญหาจริงๆคืออะไร มันก็จะเป็นสิ่งที่ยากในการจะแก้ไขปัญหานั้นได้
  2. Brainstorming : ต่อมาคือการระดมความคิด ซึ่งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่จำเป็นอย่างมากในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ เมื่อหลายๆความคิดมารวมกันแล้ว คลังความคิดก็จะตามมาซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถถูกนับมาคัดกรองและวิเคราะห์ได้ต่อไป
  3. Analysis : การวิเคราะห์และคัดกรองคลังความคิดที่ได้มาจากการระดมความคิด (Brainstorming) ถือว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนจะได้มาซึ่งทางแก้ไขปัญหา (Possible Solutions) เพราะฉะนั้นการทำการค้นคว้า (Research) เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ (Quantitative) และเชิงคุณภาพ (Qualitative) จึงเป็นขึ้นตอนที่สำคัญเพื่อประกอบการวิเคราะห์คลังข้อมูล (Collected Data)

สถานการณ์ (ภาคบุคคล) : ดูข่าวภาคค่ำ แล้วพบว่าพรุ่งนี้รถจะติดในวันทำงาน

  1. ระบุ “ ปัญหา “ ให้ชัดเจน → รถติด พรุ่งนี้ตอนเช้า
  2. ระดม “ ความคิด “ ให้หลากหลาย → ลิตส์ความคิด หรือวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เป็นไปได้ออกมา
  1. “ วิเคราะห์ & คัดกรอง & เลือกวิธีที่ดีที่สุด “ →

ข้อดี : มีโอกาสถึงบริษัทไว

ข้อเสีย : บริษัทยังไม่เปิด & ต้องเสียเวลารอ

ข้อดี : ถึงบริษัทไวขึ้นมาก & ไม่ต้องออกเดินทางก่อนเวลา

ข้อเสีย : เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเยอะ

ข้อดี : ไม่ต้องออกเดินทางก่อนเวลา

ข้อเสีย : ติดอยู่ในการจราจร & เสียค่าน้ำมันเพิ่มเพราะรถติด & เลิกงานช้า

ข้อดี : ไม่ต้องรีบเร่ง ประหยัดเวลาการเดินทางและค่าเดินทาง มีสุขภาพทางกายและใจที่ดีขึ้น มีผลผลิตการทำงานมากขึ้น

ข้อเสีย : รู้สึกเหงา ขาดความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน

→ ผลสรุป : เลือก “ ชี้แจงหัวหน้า ขอ Work From Home “ เนื่องจากมีข้อดี “มากกว่า” ข้อเสีย

สถานการณ์ (ภาคธุรกิจ) : เกิดปัญหา Admin แย่งลูกค้ากันภายในบริษัท และไม่สามารถหาที่มาของปัญหาได้

  1. ระบุ “ ปัญหา “ ให้ชัดเจน → Admin แย่งลูกค้ากัน ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งภายในบริษัทและไม่สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่
  2. ระดม “ ความคิด “ ให้หลากหลาย → ลิตส์ความคิด หรือวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เป็นไปได้ออกมา
  1. “ วิเคราะห์ & คัดกรอง & เลือกวิธีที่ดีที่สุด “ →

ข้อดี : ได้ผู้ที่มีความเป็นมืออาชีพในการจัดการปัญหาอย่างตรงจุด

ข้อเสีย : ราคาแพง มีหลายปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม ไม่คุ้มในระยะยาว

ข้อดี : ประหยัดงบประมาณ สามารถทำได้โดยทันที

ข้อเสีย : ต้องอาศัยเรื่องความซื่อสัตย์เนื่องจากอาจจะเกิดการกลั่นแกล้งว่าร้ายได้ เป็นการแก้ไขปัญหาระยะสั้น

ข้อดี : เป็นการสร้างรากฐานละโครงสร้างแบบใหม่ในการทำงาน เป็นการลงทุนระยะยาวที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยทำให้ สะดวก ง่าย และไว

ข้อเสีย : มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

→ ผลสรุป : เลือก “ ใช้บริการ Oho.Chat ตัวช่วยเรื่องการบริการลูกค้า “ เนื่องจากมีข้อดี “มากกว่า” ข้อเสีย



4. Be Patient จงอดทนไว้ !

ความสามารถในการอดทนของแต่ละบุคคลนั้นล้วนมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเมื่อเราให้การบริการ (Service) หรือขายสินค้า (Products) สิ่งที่ต้องเผชิญหน้าก็อาจจะทำให้เราต้อง “ หายใจเข้า ……. หายใจออก …….. ) หรือนับ 1 ….. 2 ….. 3 ทำการตั้งสติเพื่อจะรับมือกับปัญหาอันหนักอึ้งที่ต้องเจอ ดังนั้นเราจึงนำวิธีการสร้างความอดทนให้กับทุกคนแล้ว ซึ่งมีดังนี้

  1. หายใจเข้าลึกๆ ( Take a deep BREATH ) : การหายใจเข้า-ออกลึกๆ เป็นวิธีที่นักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวบคุมอารมห์หลายๆคนแนะนำว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การที่เราหายใจเข้า-ออกลึกๆเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่สบายใจ ถือเป็นการสร้างจังหวะให้ฮอร์โมนและเซลล์สมองได้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากมีออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงสมอง ดังนั้นอย่าลืมหายใจเข้าลึกๆเวลาอารมณ์ไม่ดีกันด้วยนะคะ
  2. เน้นรับฟัง ไม่เน้นโต้ตอบ ( Keep Listening, No React ) : ในบางครั้งการรับฟังอาจจะดีกว่าการโต้ตอบ เมื่อเราต้องเจอกับคำพูดที่อาจจะไม่น่ารักของคนในองค์กร หรือรับมือกับคำติชมที่อาจจะมีความรุนแรงของลูกค้า ในฐานะที่เราเป็นมนุษย์ความรู้สึกโกรธหรืออารมณ์ไม่ดี (Hard Feelings) ก็เป็นเรื่องธรรมชาติที่อาจจะห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นการรับฟังแล้วจำไปพิจารณาภายหลัง อาจจะดีกว่าการตอบโต้ในทันที (Rapid Response) ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งปัญหาที่ใหญ่กว่าและทำให้บริษัทสูญเสียชื่อเสียง (Reputation) ความเชื่อใจ (Trust) หรือแม้กระทั่งยอดขาย (Sales) ได้
  3. ทนไม่ไหว ให้ขอความช่วยเหลือ ( If You Can’t Handle, Get HELP ) : สิ่งสุดท้ายที่จำเป็นเมื่อเราทนไม่ไหวกับเพื่อร่วมงานหรือลูกค้าที่ชวนหัวเสียนั้นก็คือ การให้คนอื่นรับมือแทนหรือให้ความช่วยเหลือเมื่อสถานการณ์นั้นเกินความควบคุม (Out of Hand) หลายๆครั้งนั้นการช่วยเหลือจากคนนอกอาจจะเหมาะกว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ซึ่งเป็นคอนเซปท์ของความคิดแบบการมองจากภายนอกสู่ภายใน (Outside-In)

ด้วย 3 วิธีนี้การสร้างความอดทนก็จะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคุณอีกต่อไป




5. Adaptability provides Flexibility !

2 คำนี้ต่างกันยังไงหลายๆคนอาจจะยังคงสงสัย และทำไม Adaptability ถึงนำมาซึ่ง Flexibility ?

ตามนิยามในภาษาอังกฤษที่อธิบายไว้ว่า Adaptability นั้นคือ A person's ability to adjust to changes in their environment. ดังนั้นถ้าเราวิเคราะห์จากความหมายของคำนี้ จะสังเกตุเห็นได้ว่าคำคำนี้หมายถึงศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือคำว่า “ สภาพแวดล้อม “ เพราะถ้าเราหยิบยกคำนี้มาพูดในเชิงธุรกิจมันก็จะหมายความว่า ธุรกิจหรือบุคคลากรในองค์กรควรจะมีศักยภาพในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาซึ่งอาจจะมาจาก การเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม (Sociocutural) เศรษกิจ (Economic) การเมือง (Political) สาธารณสุข (Public Healthcare) หรือแม้กระทั่งเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental) นั้นเอง แต่ถ้าจะให้ชัดเจนที่สุดการเปลี่ยนแปลง (Changes) ในยุคนี้ที่เราทุกคนนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยนั้นก็คือ ความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีในยุคดิจิตอล (Technological Development) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้ธุรกิจต่างๆต้องมีทักษะนี้

ตามนิยามในภาษาอังกฤษที่อธิบายไว้ว่า Flexibility นั้นคือ The ability of muscles, joints, and soft tissues to move through an unrestricted, pain-free range of motion. ดังนั้นถ้าเราวิเคราะห์จากความหมายของคำนี้ จะสังเกตุเห็นได้ว่าคำคำนี้จะมีความเชื่อมโยงกับการปรับตัวเชิง “ ปฏิบัติ “ มากกว่า ตัวอย่างเช่น ศักยภาพของเราในการจัดการเวลาเพื่อให้เราสามารถทำหลายๆสิ่งได้ในเวลาเดียวกัน (Multitasking) เพราะฉะนั้นการที่เราจะมี Flexibility ได้ เราควรที่จะต้องมีความเข้าใจถึง “สภาพแวดล้อม” นั้นๆซะก่อนหรือมีทักษะ Adaptability เพื่อที่เราจะได้วิเคราะห์ตัวแปลงต่างๆในสถานการณ์นั้นๆ ก่อนที่เราจะมาพัฒนาทักษะ Flexibilty ต่อไป

How to successfully apply these 5 skills ? ( วิธีการประยุกต์ใช้ 5 ทักษะนี้ )

การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนอย่างมากในการนำทั้ง 5 ทักษะมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และแน่นอนว่าไม่มีธุรกิจไหนในโลกที่ไม่อยากให้ลูกค้ามีความสุข (Happiness) หลังจากบริโภคสินค้า (Goods) หรือบริการ (Services) ตัวอย่างเช่น

ลูกค้ามีความทุกข์เนื่องจาก อาการเจ็บป่วย → เข้ารับบริการ → หายหรือมีอาการดีขึ้น → ความสุข

ลูกค้ามีความทุกข์เนื่องจาก ขาดความมั่นใจ → เข้ารับบริการ → มีความมั่นใจภายนอกมากขึ้น → ความสุข

ลูกค้ามีความทุกข์เนื่องจาก ขาดความรู้ → เข้ารับบริการ → มีความรู้มากขึ้น → ความสุข

ลูกค้ามีความต้องการ (Wants) หรือความจำเป็น (Needs) → ซื้อสินค้า → บริโภค → ตอบโจทย์การใช้งาน → ความสุข

ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากคือการทำให้เกิด “ ความสุข “ สำหรับลูกค้า การบริการทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการขายนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะฉะนั้นระบบการจัดการลูกค้าหรือระบบการจัดการแชทโดย “ Oho.Chat “ จึงเป็นตัวช่วยที่สามารถดึงศักยาภาพของธุรกิจออกมาได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังเป็นบริการที่ครบจบในที่เดียว (One-Stop Service) ไม่ว่าจะเป็น

  1. Chat : ระบบจัดการรวมแชทลูกค้าในจอเดียว
  2. Chatbot : คำถามตอบแชท สลับกับแอดมินได้
  3. Contact : CRM จดจำฐานข้อมูลลูกค้า
  4. Dashboard : เห็นภาพรวมสถิติแชท วัดผลแอดมินและการบริการ
  5. Case : ติดตาม Case ลูกค้า แสดงผู้รับผิดชอบ Case และผู้เกี่ยวข้อง

เพียงเท่านี้การจัดการความสัมพัธน์กับลูกค้าก็จะไม่เป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรอีกต่อไป ประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณซึ่งยังสามารถเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจอีกด้วย เพราะเราเข้าใจดีว่าการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้านั้นสำคัญแค่ไหน

โอ้โหแชทยินดีที่จะช่วยส่วนที่ระบบหลังบ้านของคุณอย่างเต็มใจ สำหรับธุรกิจของใครที่มีความต้องการเฉพาะ ต้องการที่จะเพิ่มระบบไหนป็นพิเศษ สามารถทดลองใช้ระบบของเราได้ฟรีแล้ววันนี้ 14 วัน หรือทักมาสอบถามปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเรา พร้อมนัดสาธิตระบบได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

พร้อมแล้ว เริ่มใช้งานฟรี!
ทดลองใช้ฟรี คลิก!
เชื่อมต่อเพจของคุณฟรีทันที!